CISC
(Complex Instruction Set Computer) |
RISC
(Reduce Instruction Set Computer) |
Memory
Usage
ข้อดี
ในการใช้ของสถาปัตกรรมแบบ
CISC นั้น ชุดของคำสั่งจะมีมากมายหลายคำสั่งที่
ซับซ้อนและยุ่งยาก แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า
ทุกชุดคำสั่งจะมีการ FIX CODE
กล่าว คือ ถ้ามีการใช้ชุดคำสั่งที่มีความซับซ้อนมากก็จะใช้จำนวน
BIT มาก แต่ถ้าใช้งานชุดคำสั่งที่มีความซับซ้อนน้อยก็จะใช้งานจำนวน
BIT น้อยเช่นกัน ในการเก็บชุดคำสั่งของ
CISC นั้นจะเก็บเท่ากับจำนวนจริงของการใช้งาน
จึงประหยัดเนื้อที่ใน Memory
ข้อเสีย
เนื่องจากการเก็บชุดของคำสั่งนั้น
เก็บเฉพาะการใช้งานจริง ซึ่งจะใช้งาน
Memory น้อย แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานแต่
จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ช้าลง
เพราะต้องเสียเวลาในการถอดรหัสอันยุ่งยากของการเข้ารหัสที่มีขนาดไม่เท่ากัน
|
Memory
Usage
ข้อเสีย
สถาปัตยกรรมแบบ RISC นั้นเน้นหลักการของการนำเอาชุดของคำสั่งง่ายๆ
เพียงไม่กี่คำสั่ง (โดยทั่วไปไม่เกิน
128 คำสั่ง เช่น บวก,ลบ,คูณ,หาร) มาประกอบรวมเข้าไว้ด้วยกัน
128 คำสั่ง มีค่าเท่ากับ 2 ยกกำลัง 6
หรือกล่าวคือใช้งานแค่ 6 BIT ในการเก็บค่าของชุดคำสั่ง
ในการเก็บชุดคำสั่งจึง FIX CODE
ไว้แค่ 6 เท่านั้น ซึ่งเกิดข้อเสียคือถ้าหากคำสั่งที่ใช้งานใช้แค่
1 BIT ก็ยังคงเก็บ 6 BIT เกิด WasteSpace
ข้อดี
เนื่องจากการเก็บข้อมูลของ
RISC นี้เป็นลักษณะ FIX CODE จึงส่งผลให้การถอดรหัสรวดเร็ว
เพราะชุดคำสั่งเท่ากันทุก Record
|
Performance
1. เนื่องจาก CISC มีชุดของ Complex Instruction
มากกว่า RISC และในคำสั่งพิเศษที่มีอยู่ใน
CISC นั้น (หรือคำสั่งยากๆ) เช่น การทำ
Polynomial ในการทำงานหนึ่งคำสั่งของ
CISC อาจใช้เวลา (CLOCK) มากกว่าการนำเอาคำสั่งที่มีอยู่ใน
RISC หลายๆ คำสั่งมารวมกันเสียอีก
2. ประสิทธิภาพอาจลดลงเนื่องจากเสียเวลาในการ
DECODE เพราะชุดคำสั่งของ CISC ไม่แน่นอน
มีทั้งสั้นและยาว อีกทั้งวงจรมีความสลับซับซ้อนมาก
และใช้ CLOCK CYCLE นาน จึงทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง
และ ใช้เวลานานกว่าในการประมวลผล
|
Performance
1. การทำงานจะทำได้เร็วกว่า CISC
เพราะ RISC ประกอบด้วยคำสั่งง่ายๆ เช่น LOAD/STORE
ใช้ในการ LOAD ข้อมูลเก็บไว้ใน
REGISTER โดยตรงและให้ REGISTER ทำการประมวลผลจากนั้นค่อย
STORE เก็บไว้ใน MEMORY (โดยทั่วไปการทำงานของ
Computer เรียงลำดับความเร็ว มีดังต่อไปนี้
CPU , REGISTER , MEMORY , DISK)
2. เนื่องจากการเข้ารหัสของชุดคำสั่งเป็นลักษณะ
FIX-ENCODING จึงง่ายต่อการ DECODE หรือถอดรหัส
3. ในสถาปัตยกรรมแบบ RISC มี REGISTER จำนวนมากจึงทำให้การทำงานโดยรวมรวดเร็ว
4. การใช้งานคำสั่งง่ายๆ ของ RISC นี้
บางคำสั่งใช้เวลา (CLOCK CYCLE) ไม่ถึง
1 CLOCK จึงส่งผลให้ทำงานได้รวดเร็ว |
Compiler
Support
ใน CISC มีชุดคำสั่งที่ซับซ้อนซึ่งติดมากับตัว
CPU อยู่แล้ว แต่เมื่อมาทำการ CODE หรือเขียนโปรแกรมแล้วผ่านตัว
Compiler หรือตัวแปลงจากโปรแกรมเป็นภาษาเครื่อง
จะพบว่าคำสั่งยากๆ ที่มีอยู่ใน
CPU นั้น ตัว Compiler กลับแปลงให้อยู่ในรูปของคำสั่งง่ายๆ
หรือ กล่าวคือ Software ไม่ Support กับ Hardware ซึ่งใน
CPU หรือ Hardware นั้นมีการรองรับการทำงานของชุดคำสั่งนี้
แต่ตัว Software ไม่ได้มีการใช้คุณสมบัติจากชุดของคำสั่งที่ติดมากับตัว
CPU แต่อย่างใด ดังนั้นชุดคำสั่งที่บรรจุเอา
Complex Instruction ไว้ใน CISC นั้น จะไม่ค่อยมีประโยชน์มากนัก
ถ้าหากว่าตัว Compiler นั้นไม่รองรับ
และยิ่งไปกว่านั้นตัว Compiler บางตัวยังมีชุดคำสั่งยากๆ
อยู่ในตัวมันแล้ว กลับยิ่งหมายความว่าจะไม่ได้ใช้งานจากสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นมาใน
CISC นี้เลย |
Compiler
Support
ใน RISC นั้นมีคำสั่งประมาณ 128 คำสั่ง
แนบมากับ CPU และอนุญาตให้ใช้งานคำสั่งประเภท
LOAD/STORE ที่นำข้อมูลจาก MEMORY ไปกระทำกับ
REGISTER โดยตรงซึ่งทำให้การทำงานโดยรวมเร็วกว่า
จากจุดนี้เองในการใช้งานในส่วนของคำสั่งที่ซับซ้อน
อาจต้องใช้คำสั่งในตัว Compiler
มาใช้งานมากกว่า RISC เพราะ RISC เน้นหลักการทำงานของชุดคำสั่งที่ง่ายๆ
แต่เร็ว ดังนั้นคำสั่งยากๆ จึงโยนให้เป็นหน้าที่ของตัว
Compiler แทนครับ |