Thailand Internet Relay Chat Network
 
  โหมดสำหรับห้องสนทนา (Channel Modes)

โหมด
คำอธิบาย
A

ผู้ที่สามารถเข้าห้องสนทนานี้ได้ต้องเป็นผู้บริหาร (Administrators) เท่านั้น

โครงสร้าง
/mode #ชื่อห้องสนทนา +A

ตัวอย่าง
/mode #theboy +A
   
หมายความว่า ผู้ที่จะเข้ามาภายในห้องสนทนา #theboy จะต้องเป็น
ผู้บริหารเซิฟเวอร์เท่านั้น
 
a <nick>

ให้สถานะผู้จัดการห้องสนทนากับผู้ที่ได้รับโหมดนี้

โครงสร้าง
/mode #ชื่อห้องสนทนา +a ชื่อผู้สนทนา

ตัวอย่าง
/mode #theboy +a TheBoy
   
หมายความว่าผู้สนทนาที่ชื่อ TheBoy ได้รับสิทธิเป็นผู้จัดการ
ห้องสนทนา #theboy
 
คำแนะนำ: สถานะผู้จัดการห้องสนทนา (Super Operator) มีความสามารถดังนี้
     1. สามารถเปลี่ยนหัวข้อ (Topic) ของห้องสนทนาได้
     2. สามารถเตะผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้ดูแลห้องได้
     3. สามารถใช้โหมดทุกโหมดยกเว้น +q ของห้องได้
     4. ผู้ที่เป็น Channel Operator จะไม่สามารถเตะผู้จัดการห้องได้
     5. สามารถส่งข้อความขณะที่ห้องกำลังอยู่ในสถานะ +m (Moderated) ได้
 
b <nick!user@host>

แบนผู้ที่ใช้ Nick หรือ Username หรือ Host ตรงกับสูตรการแบน

โครงสร้าง
/mode #ชื่อห้องสนทนา +b สูตรการแบน

ตัวอย่าง
/mode #theboy +b TheBoy!*@*

หมายความว่า ผู้ที่ใช้ชื่อ TheBoy จะถูกแบนไม่ให้เข้าสู่ห้องสนทนา #theboy

คำแนะนำ: สามารถใส่ * แทนคำใดๆ ใน Nick หรือ User หรือ Host ได้
 
c
  
 ไม่ให้ใช้ตัวอักษรสีมาตรฐาน ANSI ภายในห้องสนทนา

โครงสร้าง
/mode #ชื่อห้องสนทนา +c

ตัวอย่าง
/mode #theboy +c
   
หมายความว่า เมื่อมีผู้พิมพ์ตัวอักษรสีในห้องสนทนา #theboy ข้อความ
จะไม่ถูกส่งเข้ามาภายในห้องสนทนา
 
C
  
 ไม่ให้มีการใช้ CTCP (Client to Client Protocol) ในห้องสนทนา

โครงสร้าง
/mode #ชื่อห้องสนทนา +C

ตัวอย่าง
/mode #theboy +C

หมายความว่า เมื่อมีผู้ใช้คำสั่ง /CTCP PING ภายในห้องสนทนา #theboy จะทำให้คำสั่งไม่เป็นผล
 
e <nick!user@host>

ป้องกันการแบนตามสูตรการแบน

โครงสร้าง
/mode #ชื่อห้องสนทนา +e *!*@*

ตัวอย่าง
/mode #theboy +e *!*@*
   
หมายความว่า เมื่อมีผู้ใช้ /mode #theboy +b *!*@* ผู้ที่มี Nick หรือ User หรือ Host ที่ตรงตามสูตรแบน จะสามารถเข้ามาภายในห้องสนทนาได้

คำแนะนำ: สามารถใส่ * แทนคำใดๆ ใน Nick หรือ User หรือ Host ได้
 
f <[c,j,k,m,n,t]:num>

ป้องกันการฟลัด (Flood คือการทำซ้ำๆ กัน)

โครงสร้าง

/mode #ชื่อห้องสนทนา +f [ชนิด]:ขอบเขต

โหมด
ความหมาย
การกระทำ
c
     CTCP
+C
j
     JOIN
+I
k
     KNOCKS
+K
m
     MEG / NOTICE
+m
n
     NICK CHANGE
+N
t
     TEXT
KICK


ตัวอย่าง
/mode #theboy +f [10j,10m,5n]:5
   
หมายความว่า เมื่อมีผู้เข้ามาในห้อง #theboy 10 คนภายใน 5 นาที ห้องจะอยู่ในสถานะ +I และเมื่อมีคน Flood ข้อความภายในห้อง #theboy 10 บรรทัดภายใน 5 นาทีห้องจะอยู่ในสถานะ +m และเมื่อมีคนเปลี่ยนชื่อ 5 ครั้งภายในเวลา 5 นาที ห้องจะอยู่ในสถานะ +N
 
คำแนะนำ: ถ้าต้องการให้ห้องปลดสถานะเอง ให้ใส่ # หลังชนิด เช่น
/mode #theboy +f [10n#N1]:5 หมายถึงถ้ามีคนเปลี่ยนชื่อ 10 ชื่อภายใน 5 นาทีห้องจะอยู่ในสถานะ +N เป็นเวลา 1 นาที เมื่อครบแล้วห้องจะ -N โดยอัตโนมัติ
 
G

กำหนดให้มีการกรองคำไม่สุภาพภายในห้องสนทนา

โครงสร้าง
/mode #ชื่อห้องสนทนา +G

ตัวอย่าง
/mode #theboy +G

หมายความว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่มีผู้พิมพ์คำไม่สุภาพภายในห้องสนทนา
คำที่ไม่สุภาพจะถูกกรองเป็นคำว่า <censored>
 
M

ผู้ที่ลงทะเบียนเป็นสมาชิกของเซิฟเวอร์เท่านั้น ที่จะสามารถสนทนาภายใน
ห้องสนทนาได้ เช่น

โครงสร้าง
/mode #ชื่อห้องสนทนา +M

ตัวอย่าง
/mode #theboy +M
   
หมายความว่า ผู้ที่ลงทะเบียนชื่อเป็นสมาชิกของเซิฟเวอร์เท่านั้นที่จะสามารถ
สนทนาภายในห้องสนทนา #theboy ได้

คำแนะนำ: ผู้ที่ลงทะเบียนชื่อกับ NickServ แล้วแต่ยังไม่ได้ทำการ IDENTIFY ก้อจะไม่สามารถเข้าร่วมสนทนาได้เช่นกัน
 
h <nick>

ให้สถานะกึ่งผู้ดูแลห้องสนทนากับผู้ที่ได้รับโหมดนี้

โครงสร้าง
/mode #ชื่อห้องสนทนา +h ชื่อผู้สนทนา

ตัวอย่าง
/mode #theboy +h TheBoy
   
หมายความว่าผู้สนทนาที่ชื่อ TheBoy ได้รับสิทธิความเป็นกึ่งผู้ดูแล ห้องสนทนา #theboy
 
คำแนะนำ: สถานะกึ่งผู้ดูแลห้องสนทนา (Half Operator) มีความสามารถดังนี้
     1. สามารถเปลี่ยนหัวข้อ (Topic) ของห้องสนทนาได้
     2. สามารถเตะผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้ดูแลห้องได้
     3. สามารถใช้โหมด +vmntibe ของห้องได้
     4. สามารถส่งข้อความขณะที่ห้องกำลังอยู่ในสถานะ +m (Moderated) ได้

i

ผู้ที่จะเข้ามาภายในห้องสนทนาจะต้องได้รับการเชิญเท่านั้น

โครงสร้าง
/mode #ชื่อห้องสนทนา +i

ตัวอย่าง
/mode #theboy +i

หมายความว่า ผู้ที่จะเข้ามาภายในห้องสนทนา #theboy จะต้องได้รับการเชิญ
จากคำสั่ง /invite เท่านั้น
 
K

ไม่อนุญาตให้ใช้คำสั่ง /knock

โครงสร้าง
/mode #ชื่อห้องสนทนา +K

ตัวอย่าง
/mode #theboy +K

หมายความว่า ไม่อนุญาตให้ใช้คำสั่ง /knock ภายในห้องสนทนา #theboy
 
k <key>

ใส่กุญแจให้กับห้องสนทนา

โครงสร้าง
/mode #ชื่อห้องสนทนา +k 1234

ตัวอย่าง
/mode #theboy +k 1234

หมายความว่า ผู้ที่จะเข้ามาภายในห้องสนทนา #theboy จะต้องใส่รหัสผ่านเป็นกุญแจห้องก่อน จึงจะสามารถเข้ามาภายในห้องสนทนาได้เช่น /join #theboy 1234
 
l <##>

จำกัดจำนวนคนเข้าห้องสนทนา (Limit Channel)

โครงสร้าง
/mode #ชื่อห้องสนทนา +l 20

ตัวอย่าง
/mode #theboy +l 20

หมายความว่า ห้องสนทนา #theboy สามารถให้คนเข้ามาได้เพียงครั้งละ
20 คนเท่านั้น
 
L <Chan>

ส่งผู้สนทนาไปยังห้องสนทนาอื่น

โครงสร้าง
/mode #ชื่อห้องสนทนา +L #ห้องที่ส่งต่อ

ตัวอย่าง
/mode #theboy +L #สยาม

หมายความว่า เมื่อห้องสนทนา #theboy เต็ม ผู้ที่กำลังจะเข้ามาในห้องสนทนา
จะถูกส่งต่อไปยังห้องสนทนา #สยาม แทน

หมายเหตุ: ต้องใช้โหมด l (Limit Chanel) ก่อนการใช้โหมดนี้
 
m

ผู้ที่อยู่ในสถานะ ผู้จัดการห้องสนทนา หรือ ผู้ดูแลห้องสนทนา หรือ กึ่งผู้ดูแลห้องสนทนา หรือ
ผู้ออกเสียง เท่านั้นที่สามารถพิมพ์ข้อความภายในห้องสนทนาได้

โครงสร้าง
/mode #ชื่อห้องสนทนา +m

ตัวอย่าง
/mode #theboy +m

หมายความว่า ผู้ที่จะพิมพ์ข้อความภายในห้องสนทนา #theboy ได้
จะได้มี โหมด (Channel Mode) +a หรือ +v หรือ +o หรือ +h เท่านั้น
 
N

ไม่อนุญาตให้ใช้เปลี่ยนชื่อภายในห้องสนทนา

โครงสร้าง
/mode #ชื่อห้องสนทนา +N

ตัวอย่าง
/mode #theboy +N

หมายความว่า ไม่อนุญาตให้ใช้คำสั่ง /nick ขณะที่ผู้สนทนา
กำลังอยู่ในห้องสนทนา #theboy
 
n

ไม่อนุญาตให้ส่งข้อความมาจากนอกห้องสนทนา

โครงสร้าง
/mode #ชื่อห้องสนทนา +n

ตัวอย่าง
/mode #theboy +n

หมายความว่า ไม่อนุญาตให้ผู้สนทนาที่ไม่ได้อยู่ในห้องสนทนา ส่งข้อความเข้ามาภายในห้องสนทนา #theboy
 
O

ผู้ที่สามารถเข้าห้องสนทนานี้ได้ต้องเป็นผู้ดูแล (Server Operator) เท่านั้น

โครงสร้าง
/mode #ชื่อห้องสนทนา +O

ตัวอย่าง
/mode #theboy +O
   
หมายความว่า ผู้ที่จะเข้ามาภายในห้องสนทนา #theboy จะต้องเป็น
ผู้ดูแลเซิฟเวอร์เท่านั้น
 
o <nick>

ให้สถานะผู้ดูแลห้องสนทนากับผู้ที่ได้รับโหมดนี้

โครงสร้าง
/mode #ชื่อห้องสนทนา +o ชื่อผู้สนทนา

ตัวอย่าง
/mode #theboy +o TheBoy
   
หมายความว่าผู้สนทนาที่ชื่อ TheBoy ได้รับสิทธิความเป็นผู้ดูแล
ห้องสนทนา #theboy
 
คำแนะนำ: สถานะผู้ดูแลห้องสนทนา (Channel Operator) มีความสามารถดังนี้
     1. สามารถเปลี่ยนหัวข้อ (Topic) ของห้องสนทนาได้
     2. สามารถเตะผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้ดูแลห้องได้
     3. สามารถใช้โหมดทุกโหมดยกเว้น +q ของห้องได้
     4. สามารถส่งข้อความขณะที่ห้องกำลังอยู่ในสถานะ +m (Moderated) ได้
 
p

กำหนดให้ห้องสนทนาเป็นห้องส่วนตัว

โครงสร้าง
/mode #ชื่อห้องสนทนา +p

ตัวอย่าง
/mode #theboy +p

หมายความว่า ถ้ามีผู้ใช้คำสั่ง /list ห้องสนทนา #theboy จะถูกแสดงเป็น *
 
q

ให้สถานะเจ้าของห้องสนทนากับผู้ที่ได้รับโหมดนี้

โครงสร้าง
/mode #ชื่อห้องสนทนา +q ชื่อผู้สนทนา

ตัวอย่าง
/mode #theboy +q TheBoy

   
หมายความว่าผู้สนทนาที่ชื่อ TheBoy ได้รับสิทธิความเป็นเจ้าของ
ห้องสนทนา #theboy
 
คำแนะนำ: สถานะเจ้าของห้องสนทนา (Channel Owner) มีความสามารถดังนี้
     1. สามารถให้สิทธิต่างๆ กับสมาชิกในห้องสนทนาได้ เช่น +a +o +h +v
     2. สามารถทำได้ทุกอย่างที่ Super Operator ทำได้

ผู้ที่จะสามารถให้โหมดนี้ได้มีเพียง ChanServ กับผู้ที่มีโหมดนี้อยู่แล้ว

 
Q

ป้องกันการเตะภายในห้องสนทนา

โครงสร้าง
/mode #ชื่อห้องสนทนา +Q

ตัวอย่าง
/mode #theboy +Q

หมายความว่า ผู้ที่อยู่ในห้องสนทนา #theboy จะไม่สามารถใช้คำสั่ง KICK ได้

คำแนะนำ: โหมดนี้ถูกมองข้ามจาก Network Services
 
R

ผู้ที่จะเข้ามาภายในห้องสนทนาจะต้องได้รับการลงทะเบียนเป็นสมาชิก
ของเซิฟเวอร์กับ NickServ เท่านั้น

โครงสร้าง
/mode #ชื่อห้องสนทนา +R

ตัวอย่าง
/mode #theboy +R

หมายความว่า ผู้ที่จะเข้ามาภายในห้องสนทนา #theboy จะต้องผ่าน
การลงทะเบียน เป็นสมาชิกกับเซิฟเวอร์ก่อน และจะต้องยืนยัน
การเป็นสมาชิกโดย IDENTIFY กับ NickServ ก่อนเข้าห้องสนทนา
 
S

กรองตัวอักษรสีภายในห้องสนทนา

โครงสร้าง
/mode #ชื่อห้องสนทนา +S

ตัวอย่าง
/mode #theboy +S
   
หมายความว่า เมื่อมีผู้พิมพ์ตัวอักษรสีในห้องสนทนา #theboy ข้อความ
จะถูกกรองให้เป็นสีปกติ
 
s

กำหนดให้ห้องสนทนาเป็นห้องลับ

โครงสร้าง
/mode #ชื่อห้องสนทนา +s

ตัวอย่าง
/mode #theboy +s
   
หมายความว่า ถ้ามีผู้ใช้คำสั่ง /list ห้องสนทนา #theboy จะไม่ถูกแสดง
 
t

ผู้ทีจะเปลี่ยนหัวข้อห้องสนทนาจะต้องเป็นผู้ดูแลห้องสนทนาเท่านั้น

โครงสร้าง
/mode #ชื่อห้องสนทนา +t

ตัวอย่าง
/mode #theboy +t
   
หมายความว่า ผู้ที่จะเปลี่ยนหัวข้อห้องสนทนา #theboy จะต้องเป็นผู้ดูแลห้องเท่านั้น
 
u

เมื่อมีผู้ใช้คำสั่ง /names หรือ /who ภายในห้องสนทนา ให้แสดงผลเฉพาะ
ผู้ที่เป็นผู้ดูแลห้องสนทนาเท่านั้น

โครงสร้าง
/mode #ชื่อห้องสนทนา +u

ตัวอย่าง
/mode #theboy +u
   
หมายความว่า เมื่อมีผู้ใช้คำสั่ง /names หรือ /who ภายใน
ห้องสนทนา #theboy ให้แสดงผลเฉพาะ ผู้ที่เป็นผู้ดูแลห้องสนทนาเท่านั้น
 
V

ไม่ให้มีการเชิญบุคคลเข้ามาภายในห้องสนทนา

โครงสร้าง
/mode #ชื่อห้องสนทนา +V

ตัวอย่าง
/mode #theboy +V
   
หมายความว่า ไม่สามารถใช้คำสั่ง /invite เพื่อเชิญคนเข้ามา ภายในห้องสนทนา #theboy ได้
 
v <nick>

ให้สถานะผู้ออกเสียงกับผู้ที่ได้รับโหมดนี้

โครงสร้าง
/mode #ชื่อห้องสนทนา +v ชื่อผู้สนทนา

ตัวอย่าง
/mode #theboy +v TheBoy
   
หมายความว่าผู้สนทนาที่ชื่อ TheBoy ได้รับสิทธิความเป็นผู้ออกเสียง
ในห้องสนทนา #theboy
 
คำแนะนำ: สถานะผู้ดูแลห้องสนทนา (Voice Operator) มีความสามารถดังนี้
     1. สามารถส่งข้อความขณะที่ห้องกำลังอยู่ในสถานะ +m (Moderated) ได้
 
z

ผู้ที่จะเข้ามาภายในห้องสนทนา จะต้องใช้โปรแกรมเชื่อมต่อ (Client)
แบบ SSL (Socket Secure Layer) เท่านั้น

โครงสร้าง
/mode #ชื่อห้องสนทนา +z

ตัวอย่าง
/mode #theboy +z
   
หมายความว่า ผู้ที่จะเข้ามาภายในห้องสนทนา #theboy จะต้องใช้
โปรแกรมเชื่อมต่อ (Client) แบบ SSL (Socket Secure Layer) เท่านั้น
 


วิธีการใช้งานโหมดของผู้สนทนา

โหมดสำหรับห้องสนทนาทุกโหมด ถ้าคุณต้องการถอดถอนโหมด
สามารถเปลี่ยนเครื่องหมายจาก + เป็น - ได้ เช่น

/mode #theboy -z

หมายความว่า คุณได้ยกเลิกโหมด z ภายในห้องสนทนา #theboy

/mode #theboy -o TheBoy

หมายความว่า คุณได้ถอดถอนโหมด o ของ TheBoy ออกจากห้องสนทนา #theboy







ถ้าคุณชอบบทความเหล่านี้ สามารถแนะนำต่อให้เพื่อนๆ ได้

ชื่อผู้ส่ง: อีเมล์:
ชื่อผู้รับ: อีเมล์:

IP: => 3.21.46.24

ทีมงาน ThaiIRC
ขอขอบคุณทุกท่าน ที่ให้การสนับสนุน
และเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา
 

 



First Thailand IRC Network.


   บทความต่างๆ ภายในเว็บนี้ ห้ามมิให้ดัดแปลง ทำซ้ำ ตีพิมพ์ แจกจ่าย ไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมดก่อนได้รับอนุญาต.
   © 1999 - 2024 theBoy & Moha & ThaiIRC Corporation. All rights Reserved.